Thursday 28 November 2013

[DIY] เติมไส้ในสมุดออร์แกไนเซอร์แบบห่วง (Ring Organizer Refill) [re-post]

แม้ว่าทุกวันนี้เราสามารถจัดการบันทึกผ่านทาง Organizer ของมือถือ, คอมฯ, แทปเล็ต ได้ง่ายๆ แล้ว
แต่สำหรับบางคน ยังคงชื่นชอบที่จะใช้สมุดบันทึกกันอยู่

ถ้าวัดจากความรู้สึกของผม เหตุผลก็เป็น เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น สามารถหยิบจับมาใช้ได้ทุกเมื่อโดยไม่ต้องง้อแบตเตอรี่(ที่ปัจจุบันแทบจะใช้ หมดวันต่อวัน) , มีปากกาดินสอก็ขีดๆ เขียนๆ กันเข้าไป อย่างเสรี ได้ความรู้สึกที่แป้นพิมพ์ให้ไม่ได้, ไม่ต้องกลัวว่าความลับในสมุดจะแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือถ้าอยากสังหารใครก็มองหน้ามัน ถ้ารู้ชื่อแล้ว เขียนชื่อลงไปได้ เป็นต้น

เมื่อปีเก่าผ่านไป ปีใหม่ก็เริ่มต้นขึ้นอีกรอบ ถึงตอนนี้ หลายๆ คน คงได้เวลาเปลี่ยนไดอารี่เล่มใหม่กันแล้วเนอะ เหตุผลหลักๆ ที่ต้องเปลี่ยน นอกจากการเขียนจนหมดเล่ม ก็คือ ปฏิทิน ที่อยู่ในเล่มนั่นเอง


รวมถึง Month Planer , Year Planer ด้วย

แต่ว่า ส่วนที่ผมสะดุดใจอยู่ทุกที เมื่อจะต้องเปลี่ยนสมุดบันทึก ก็คือว่า ไดอารี่หลายๆเล่ม มักจะมีหน้าเหล่านี้ประกอบมาให้


บันทึกข้อมูลส่วนตัว ไม่ใช่ข้อมูลที่จะเปลี่ยนกันบ่อยๆ หรือข้อมูลการติดต่อกับใครๆ ที่เผลอเขียนลงไว้ใน Diary ถ้าถึงเวลาเปลี่ยนเล่ม ต้องเอามาลอก เขียนใหม่กระนั้นหรือLaughing
พอดีว่าเมื่อปีก่อนนี้ น้องผมได้ให้ Ring Organizer เป็นของขวัญปีใหม่ 
ซึ่งผมได้ใช้มันเรื่อยมา ... และเข้าใจ(เอาเอง)ว่า ถ้าหมดปี ก็ค่อยซื้อไส้ในแบบ refill มาเปลี่ยนเฉพาะหน้าที่ต้องการ

... จนกระทั่งหมดปีจริงๆ ... เรื่องวุ่นวายก็เกิดขึ้น
เนื่อง จากผมหาไส้ใน(เนื้อใน, กระดาษเติม แล้วแต่จะเรียก) มาเปลี่ยนไม่ได้ .. ร้านละแวกบ้านไม่มีร้านใดเลยที่สั่งมาขาย, ห้างขายพร้อม organizer เล่มใหม่(ไม่แยกขาย) หรือแม้จะสั่งซื้อทางเน็ต ส่วนมากก็จะเป็นเว็บของพรีเมี่ยม ที่ต้องสั่งทำ
ที่ว่าหาไม่ได้ ก็ไม่เชิงว่ามันจะไม่มีเลยเสียทีเดียว เพียงแต่ว่า มันลำบากจนไม่คุ้มกับที่ผมจะหาซื้อมาใช้ 
ระหว่างที่ค้นหาไส้สมุดในอินเตอร์เน็ต ก็ัเผอิญไปเจอเว็บ D.I.Y แห่งหนึ่ง ทีมีตัวอย่างในการทำสมุดบันทึกใช้เอง ... คือเว็บ nuchun.com นั่นเอง
ใครชอบงานฝีมือ ลองเข้าชมดูนะครับ
มีงานทำมือ น่ารักๆ และสร้างแรงบันดาลใจเพียบเลยจ๊ะ
ตัวอย่างที่ผมเอามาใช้
มาต่อกันที่ว่า เมื่อผมได้แบบไส้ในสมุดมาแล้ว ก็เหลือวิธีเอาลงห่วงของ Organizer ที่มีอยู่
ซึ่งทำไปทำมา ก็พบว่า 
1. Organizer ของผม ใช้กระดาษแบบ A5 (เท่ากับ A4 พับครึ่ง)

... เท่านี้ก็เอากระดาษ A4 ที่มี มาตัดครึ่งใช้ได้  
2. Ring Organizer เป็นแบบ 6 ห่วง 

 เนื่องจาก รูของที่เจาะกระดาษ กับรูของกระดาษไส้ในของเดิม มีขนาดพอๆ กัน 
... ดังนั้น ถ้ามีที่เจาะกระดาษทั่วๆ ไป ก็น่าจะเอามาเจาะรูเองได้ โดยไม่เกินความพยายาม (แผ่นละ 6 รูเอง)
3.เหลือแค่วัดขนาด และกำหนดระยะของรูที่จะทำการเจาะ 
ทั้งนี้สามารถวัดจากกระดาษของเดิมที่มีอยู่ หรือจะวัดจากระยะห่วงของ Organizer โดยตรงก็ได้ครับ
ซึ่งระยะของรูต่างๆ ก็จะออกมาตามรูปด้านล่าง

... เหตุผลที่ผมต้องการระยะ จากขอบกระดาษ - ขอบของรู
เนื่องจาก ผมจะเอาระยะดังกล่าว ไปทำ กระดาษวัดระยะ ดังนี้ครับ
หากระดาษอะไรก็ได้(ถ้ากระดาษบางควรพับ/ทบ ให้หนาขึ้น) แล้วก็ขีดเส้นบอกระยะ จากขอบกระดาษ ถึงขอบรูที่จะเจาะ (ตามแบบด้านบน)
ทำฝั่งเดียว(สามรู)ก็พอ เพราะรูบนกระดาษทั้งสองฝั่ง มันสมมาตรกันครับ
ผมเลือกทำฝั่งขวา ... ออกมาก็หน้าตาประมาณนี้

ระยะจากขอบกระดาษถึงขีดแรก 2.83cm  
จากนั้นก็บวกเพิ่มอีกขีดละ1.95cm เป็นระยะจากขอบกระดาษถึงขีดที่สอง เท่ากับ 4.78cm
และระยะถึงขีดที่สามเท่ากับ 6.73cm 
.. การเจาะจริง แต่ละรูก็สามารถคลาดเคลื่อนได้นิดหน่อย (ประมาณ 1 mm.)  ดังนั้นผมจึงปัดทศนิยมให้เหลือหนึ่งตำแหน่ง จะได้ไม่ต้องเพ่งไม้บรรทัดมาก 
ทำให้จากขอบกระดาษถึงขีดแรก ผมปัดเป็น 2.9cm
จากขอบกระดาษถึงขีดที่สอง เท่ากับ 4.8cm
และขีดที่สามเท่ากับ 6.7cm ตามลำดับ
จากนั้นก็เอาเทปใส แปะไว้กับที่เจาะรูกระดาษ โดยให้กระดาษวัดระยะ ชนกับเหล็กเจาะพอดี 

... ตอนนี้ก็ กดที่เจาะกระดาษลง(เหมือนกับตอนที่เรากำลังเจาะกระดาษ) ค้างไว้ 
เอาขอบกระดาษวัดระยะ ไปชนกับเหล็กเจาะ แล้วค่อยติดเทป
พอติดเสร็จก็จะเป็นแบบนี้ครับ



เสร็จแล้วก็ทำการเจาะกระดาษลองดู
รูแรก ให้ขอบกระดาษตรงกับขีดแรก (ที่เขียนว่า 2.9 นั่นแล)

รูที่สองที่สาม ก็ตามลำดับ ไปเรื่อยๆ 


เสร็จออกมา ได้รูหน้าตาประมาณนั้น


... ขออภัยครับ ... หาภาพกระดาษที่เจาะแล้วของจริงไม่เจอ ดูภาพดัมมี่แทนแ้ล้วกันนะฮะ 
พอจะทำอีกด้านนึงก็พลิกกลับด้านกระดาษ ทำเหมือนเดิม แล้วก็ลองเอาไปใส่ห่วงดู

... ใส่ได้พอดีเลย (รอดตัวแล้วเราFoot in mouth)


 

...ถ้าเราทำแผ่นแรกได้สำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว ครั้งต่อไปเราก็เจาะทีละหลายๆ แผ่นพร้อมกันได้ จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของที่เจาะเป็นหลัก เช่นที่เจาะ ที่สามารถเจาะความหนา 3.0 mm ก็สามารถใส่กระดาษ 75 แกรม พร้อมกัน 20 แผ่น สบายๆ
นอกจากนี้ เรายังสามารถตัดกระดาษจากสมุดบันทึกเล่มอื่นๆ ที่เราต้องการมาเจาะรูใส่ได้ด้วย

มีเพิ่มเติมอีกนิดนึง คือ ถ้าเอากระดาษที่เจาะแล้วใส่ลงไปใน organizer จนถึงปริมาณหนึ่งที่เรียกว่า "เยอะ"
จะทำให้เริ่มพลิกแต่ละหน้าลำบาก อันเนื่องมาจากขอบกระดาษด้านใน(ด้านที่มีรู ด้านที่เจาะรู ด้านสัน แล้วแต่จะเรียก)ไปขัดกันเอง ...
กรณีนี้อาจแก้ไขโดยการ นำออกมาเฉือนริมกระดาษด้านในออกสักนิด .. ให้ระยะห่างระหว่างรู ถึงขอบกระดาษอยู่ที่ประมาณ 5 - 7 mm จะทำให้พลิกเปิดหน้าได้สะดวกขึ้นครับ  (ถ้าน้อยกว่านั้นหน้ากระดาษจะขาดออกจากห่วงได้ง่าย) 

======================================

จบ entry แต่เพียงเท่านี้ครับ ขอให้ขีดๆ เขียนๆ ด้วยความสนุกสนานนะครับ